การออกแบบรั้วบ้าน

การออกแบบรั้วเพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่และยังคงความสวยงามสะท้อนบุคลิกของเจ้าของบ้าน สามารถทำได้หลายรูปแบบดังต่อไปนี้....

1. ผักสวนครัวรั้วกินได้

การ ปลูกพืชผักสวนครัว สำหรับใช้ในครัวเรือนนอกจากจะปลูกในสวน ในแปลง ในกระถางแล้ว พืชผักบางชนิดเราสามารถนำมาปลูกเป็นรั้วบ้านได้ ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่เป็นรั้วที่ล้อมกั้นเขตของบ้านที่มีความสวยงามดูแปลก ตาแตกต่างไปจากรั้วบ้านชนิดอื่นๆ แล้ว รั้วประเภทนี้ยังให้ใบ ให้หน่อ ให้ดอก ให้ผล ให้เรานำไปทำเป็นอาหารอิ่มท้องและยารักษาโรคอีกด้วย

โดย ทั่วไปพืชผักที่ใช้ปลูกเป็นรั้วกินได้ มักเลือกที่ปลูกง่าย ไม่ต้องการการดูแลรักษามานัก ทนต่อโรคและแมลงได้ดีและตัดแต่งเป็นรั้วบ้านตามที่เราต้องการได้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

รั้ว ที่ปลูกโดยพืชผักไม้ยืนต้น พืชเหล่านี้ลักษณะลำต้นตั้งตรงหรือทรงพุ่ม ยืนต้นอยู่ได้ด้วยตัวเอง สามารถตัดแต่งให้เป็นรั้วมีขนาดกว้างและสูงได้ตามต้องการ ได้แก่ กระเจี๊ยบแดง กระถิน กุ่ม ขี้เหล็ก แคบ้าน ชะมวง ชะอม ชุมเห็ดเทศ ทองหลาง ทำมัง ผักหวานบ้าน ไผ่ มะกรูด มะกอก มะขาม มะดัน มะตูม มันปู ยอ เล็บครุฑ สะเดา สมุย โสน เหลียง เป็นต้น

รั้ว ที่ปลูกโดยพืชผักชนิดเลื้อยเกาะ พืชเหล่านี้มีลำต้นเป็นเถาเลื้อยพันยึดเกาะกับแนวหรือโครงรั้วที่สร้างด้วย วัสดุต่างๆ เช่น รั้วเหล็กดัด รั้วลวดหนาม รั้วขัดแตะ รั้วไม่รวก รั้วไม้ไผ่ ฯลฯ แถมยังให้ใบ ยอดอ่อน ดอก และผลเป็นอาหาร ได้แก่ กะทกรก ขจร ตำลึง ถั่วพลู ถั่วฝักยาว น้ำเต้า บวบ ผักปลัง พวงชมพู ฟัก มะระขี้นก มะระ ย่านาง เป็นต้น มีให้เลือกหลากหลายขนาดนี้ อาหารเต็มโต๊ะกันทุกบ้านแน่นอน

2. ดอกไม้ริมรั้ว

ซุ้ม ไม้เลื้อย ที่อยู่ตรงทางเข้าหน้าบ้าน หรือปลูกดอกไม้ให้เกาะแนบไปตามแนวรั้วนอกจากจะใช้เป็นส่วนต้อนรับแขกผู้มา เยือนบริเวณทางเข้าบ้านได้เป็นอย่างดีแล้ว บางต้นยังช่วยส่งกลิ่นหอมและทำให้รั้วบ้านของเราดูไม่กระด้างจนเกินไป มีความเป็นธรรมชาติที่สื่อถึงความเรียบง่ายในตัว เราสามารถเลือกดอกไม้หลากสายพันธุ์มาผสมกัน ปล่อยให้ขึ้นรวมกันอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่มีขอบแปลง ไม่ต้องตัดแต่ง เลือกต้นไม้ชนิดที่ให้ดอกและใบ ซึ่งมีรูปทรงและสีสันแตกต่างกัน สร้างความสนุกสนาน และที่สำคัญต้องสามารถเจริญเติบโตอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบเดียวกันได้ อย่างเช่น forget me not (สี ชมพู สีม่วง สีขาว) เขาแพะ หอมหมื่นลี้ คัดเค้า บูลเดซี่ พวงหยก พวงแสด มาลัยทอง สร้อยสายเพชร แตรนางฟ้า แย้มปีนัง เข็มปัตตาเวีย แซลเวีย แวววิเชียร ลาเวนเดอร์บลู ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมว่าจะปลูกอะไรตรงไหนดี คุณอาจเกิดไอเดียและสนุกกับการปลูกต้นไม้มากยิ่งขึ้นค่ะ

3. รั้วกันมลพิษ

รั้ว ทึบ รั้วประเภทนี้ปกป้องมลพิษทางด้านสายตาเป็นอย่างดี อาจทำด้วยกำแพงอิฐที่ก่อโชว์ฝีมือของช่างหรือกำแพงที่ทำด้วยคอนกรีต แม้ค่าก่อสร้างจะสูงแต่คงทน ไม่ต้องซ่อมแซมบำรุงบ่อยๆ สามารถติดตั้งโคมไฟได้ง่าย บังสายตาจากถังขยะ หรือต่อเติมเพื่อเก็บเครื่องมือทำสวน รั้วแบบนี้ไม่ควรสูงเกิน 1.80 เมตร เมื่อมีพายุและลมแรง รั้วทึบจะทำหน้าที่ต้านแรงลมไว้แต่อาจทำให้เกิดลมหมุนย้อนกลับ ซึ่งจะทำให้บริเวณใกล้กำแพงมีลมแรงขึ้นจนอาจทำให้ต้นไม้บริเวณใกล้รั้วเสีย หายได้

รั้ว โปร่ง สามารถออกแบบได้จากวัสดุหลายชนิดตั้งแต่รั้วไม้ที่เข้ากับธรรมชาติ ให้ความเป็นมิตรและสบายตา ช่วยป้องกันตัวบ้านจากฝุ่นละออง ถ้าปลูกต้นไม้เลื้อยพันรั้วไว้ก็ยิ่งจะช่วยลดมลพิษได้มากขึ้น เช่นกรองความร้อนที่แผ่รังสีมาจากพื้นถนนหน้าบ้านและจากแสงแดดที่ร้อนระอุใน เวลากลางวัน ทำให้ลมที่พัดเข้าสู่บ้านของเราเย็นลง หรือจะเลือกใช้เหล็กดัด อัลลอยด์โดยทำเป็นรั้วทึบในส่วนล่าง เพื่อความแข็งแรงและป้องกันเสียง ส่วนด้านบนอาจใช้ไม้หรือลวดตาข่ายพันด้วยไม้เลื้อยที่คุณชอบ ก็ทำให้บ้านดูน่าสนใจไปอีกแบบ

4. รั้วอุ่นใจ

วันนี้ขอแนะนำรั่วอุ่นใจที่สร้างจาก "Sheet pile" อาจจะสงสัยกันว่าคืออะไร Sheet pile คือ อะไร ภาษาไทยเราเรียกกันว่า เข็มพืด ซึ่งจะมีลักษณะเป็นแผ่นเหล็ก โดยนิยมใช้ก่อสร้างกำแพงกันดินและกำแพงกันน้ำ หากเป็นกำแพงกันน้ำก็จะแตกต่างออกไป โดยแผ่น Sheet pile ที่ ฝั่งลึกเข้าไปในดิน จะมีการอุดรอยต่อเพื่อป้องกันน้ำซึมผ่านลอดใต้ดินที่สามารถลอดผ่านรอยต่อ ระหว่างแผ่น นอกจากนี้กำแพงกันน้ำท่วมที่สร้างจาก Sheet Pile สามารถนำมาก่อสร้างในพื้นที่เล็กๆ เช่น บริเวณบ้านพักอาศัยได้และยังสามารถตกแต่งผิวให้ดูสวยงามได้อีกด้วย

เห็น ไหมคะ.... รั้วมีหลากหลายแบบจริงๆ อาจมากกว่าที่คุณคิดหรือเคยเห็น ลองศึกษาดูว่ารั้วแบบไหน ถูกใจ และเหมาะกับบ้านคุณ ขอให้สนุกกับการเลือกรั้วหน้าบ้านของคุณกันนะคะ